วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

สำนวนไทย

     
            

        สำนวนหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความ  หรือคำพูดที่เป็นชั้นเชิง  ไม่ตรงตามรูปแบบภาษา  เป็นถ้อยคำหรือ คำพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัว  มีความหมายเป็นนัยแฝงอยู่ กินความกว้าง หรือลึกซึ้ง      นำมาใช้ให้มีความหมายแตกต่างไปจากความหมายเดิมของคำ ๆ นั้น   


หรืออาจจะมีความหมายคล้ายกับความหมายเดิมของคำที่นำมาประสมกัน แต่ก็ไม่เหมือนกับความหมายเดิมทีเดียว  เป็นความหมายใน เชิงอุปมาเปรียบเทียบ  มักใช้ถ้อยคำที่ไม่ยาวมากแต่กินความมาก   ใช้คำที่ไพเราะ คมคาย สละสลวย  ต้องอาศัยการตีความจึงจะเข้าใจ



ที่มาของสำนวนไทย

 1. มีที่มาจากธรรมชาติ  เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 

2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต  เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น

3.  ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม  เช่น  การทำมาหากิน  การกระทำ  ประเพณี  การละเล่น  การศึกษา  การเมืองการปกครอง  เป็นต้น

4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ  เช่นทางศาสนาและความเชื่อ

5.ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ  เช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น

6.ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา  วรรณคดี  ตำนาน  นิทาน  ประวัติศาสตร์  เป็นต้น 


ลักษณะของสำนวนไทย

1.  ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวนอาจเป็นเพียงคำเดียว  หรือประกอบด้วยถ้อยคำที่เรียงกันตั้งแต่  2  คำขึ้นไปซึ่งบาง สำนวนเป็นกลุ่มคำ   บางสำนวนเป็นประโยค  ซึ่งมีทั้งความเดียวและประโยคความซ้อน

2. สำนวนไทยบางสำนวนมีทั้งมีเสียงสัมผัสและไม่มีเสียงสัมผัส   ที่มีเสียงสัมผัส  มีเสียงสัมผัสในและสัมผัสนอก  จะมีตั้งแต่ 4 ถึง 12  คำ  ส่วนที่ไม่มีเสียงสัมผัส  จะมีตั้งแต่ 2  ถึง 8  คำ  บางสำนวนมีการใช้คำซ้ำและเล่นคำ
   

3. เนื้อความของสำนวนมีทั้งที่มีเนื้อความตอนเดียว  และมีเนื้อความสองตอนขึ้นไป

4. เนื้อหาของสำนวนจะมีหลากหลาย  ดังนี้
           4.1 เนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ และกิริยาท่าทาง
           4.2 เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย  กิริยาอาการและพฤติกรรม
           4.3 เนื้อหาเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก
           4.4 เนื้อหาเกี่ยวกับการพูด
           4.5 เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก  การมีคู่  และการครองเรือน
           4.6 เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ และการอบรมสั่งสอน
           4.7 เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ อาชีพ การทำงาน การทำมาหากิน และการดำรงชีวิต
           4.8 เนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม การเมือง การปกครอง
           4.9 เนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรม การเตือนสติและคำสอนต่าง ๆ

           4.10 เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์  สถานการณ์ เวลา  ระยะทางและสถานที่5. เป็นถ้อยคำสละสลวยที่ใช้แทนคำพูดธรรมดา  เป็นคำแปลก ๆ โดยอาจเทียบเคียงมาจากการกระทำบางอย่าง  เป็นคำกล่าวที่มีความหมายโดยนัย  เป็นคำที่มาจากปรากฏการธรรมชาติ นิทาน ชาดก หรือวรรณคดี  ใช้ถ้อยคำน้อย แต่มีเนื้อความมาก  และเป็นคำที่มีความไพเราะ ฯลฯ


สำนวนที่เกิดขึ้นใหม่
จุไรรัตน์  ลักษณะศิริ, บาหยัน  อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ, 2548, หน้า 67-71)  กล่าวถึงสำนวนที่เกิดขึ้นใหม่ไว้  สรุปได้ดังนี้

1. สำนวนที่เกิดจากวงการสื่อมวลชน เช่น  ไปไม่ถึงดวงดาว (ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คิดไว้) มองต่างมุม (แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป)  เป็นต้น
2. สำนวนที่เกิดจากวงการเมือง  เช่น  โปร่งใส (ชัดเจน ไม่มีลับลมคนใน)  น็อตหลุด    (ยั้งไม่อยู่  พูดโพล่งออกมาหรือแสดงอารมณ์อย่างไม่สมควร)   เป็นต้น
3. สำนวนที่เกิดจากวงการโฆษณา  เช่น  ภาษาดอกไม้ (คำพูดที่ไพเราะ รื่นหู  พูดไป  ทางที่ดี)   มีระดับ (คุณภาพดี  มีมาตรฐานสูง)   เป็นต้น
4. สำนวนที่เกิดจากวงการบันเทิง เช่น แจ้งเกิด (เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น ๆ)   คู่กัด (คู่ที่ไม่ถูกกัน)  เป็นต้น
5. สำนวนที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ   เช่น เเกะดำ (back sheep ใช้หมายถึง คนชั่วในกลุ่มคนดี)   แขวนอยู่บนเส้นด้าย (hang by a thread  ใช้หมายถึง  ตกอยู่ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย)  ลื่นเหมือนปลาไหล (slippery as eel ใช้หมายถึง  (คน)ที่เชื่อถือได้ยากเพราะเป็นคนตลบตะแลง  พลิกแพลงกลับกลอก  หรือหลบเลี่ยงไปมาได้คล่องแคล่ว)  ล้างมือ (wash one’ s hand of  ใช้หมายถึง  ปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ  หรือเลิกเกี่ยวข้อง)  สร้างวิมานในอากาศ (build castles in the air  ใช้หมายถึง  ฝันหรือหวังในสิ่งที่ไม่วสามารถจะเป็นความจริงได้)  เป็นต้น

วิธีการใช้สำนวนไทย
         

การใช้สำนวนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  สามารถสื่อความหมาย  ได้อย่างชัดเจน  ถูกต้อง  และรวดเร็ว โดยทั่วไปเราใช้สำนวนเพื่อการสื่อสารในกรณีต่อไปนี้

1. ใช้ในการจูงใจ  เช่น  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา  ธรรมะย่อมชนะอธรรม  คบคนพาลพาลพาไปหาผิด  คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล  แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร  
เป็นต้น
2. ใช้ย่อข้อความยาว ๆ  เช่น  ขิงก็รา  ข่าก็แรง   ตัดหางปล่อยวัด   จับปลาสองมือ   กินเปล่า  ชุบมือเปิบ  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  เป็นต้น
3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ  เช่น  ปิดทองหลังพระ  หนีเสือปะจระเข้   ทำคุณบูชาโทษ  กินน้ำใต้ศอก  เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น
4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ  เช่น  เฒ่าหัวงู   สิ้นบุญ  เจ้าโลก  บ้านเล็ก  ไก่แก่แม่ปลาช่อน โคแก่กินหญ้าอ่อน  วัวเคยขาม้าเคยขี่  เป็นต้น
5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร  เช่น   ข้าวแดงแกงร้อน  อยู่เย็นเป็นสุข  รั้วรอบขอบชิด  คลุกคลีตีโมง  ขุดบ่อ ล่อ ปลา  เป็นต้น

  
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่                                              จับปูใส่กระด้ง


              
                                      
ขิงก็รา ข่าก็แรง                                                                 วัวหายล้อมคอก





อ้างอิง 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำเป็นคำตาย

คำเป็น คำตาย คำเป็น     1.    คำประสมด้วยสระเสียงยาว ในแม่ ก กา        รวมทั้งสระเสียงสั้น อำ ใอ ไอ เอา    2.    คำที่...